TGAT คืออะไร? รวมทุกเรื่องที่ DEK68 ควรรู้ก่อนลุยสนามสอบจริง

TGAT คืออะไร? รวมทุกเรื่องที่ DEK68 ควรรู้ก่อนลุยสนามสอบจริง

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ คลิกเลย!

ใกล้จะเริ่มเข้าสู่เทศกาลสอบเข้ามหาวิทยาลัยของน้อง ๆ DEK68 แล้วนะคะ พี่วีวี่เชื่อว่า น้อง ๆ หลายคนก็คงเริ่มเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบกันแล้ว เพราะมีข้อสอบกลางหลายวิชาที่จะต้องเก็บให้ครบ ไม่ว่าจะเป็น A-Level, TPAT หรือ TGAT เพื่อนำไปใช้ยื่นสมัครเข้าระบบ TCAS68 

แต่สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี ไม่รู้ว่าจะต้องสอบวิชาอะไรบ้าง ในบทความนี้พี่วีวี่จะพาไปทำความรู้จักกับวิชาความถนัดทั่วไป (Thai General Aptitude Test) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “TGAT” หนึ่งในข้อสอบกลางที่ต้องใช้ยื่นสอบแทบทุกคณะ จะน่าสนใจแค่ไหน ตามไปดูกัน!

TGAT คืออะไร

TGAT คือ ข้อสอบวัดความถนัดทั่วไปที่ไม่ได้เน้นเนื้อหาความรู้เชิงวิชาการ แต่จะเน้นด้านการนำความรู้ที่มีไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานจริง โดยจะมีทั้งหมด 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่ การสื่อสารภาษาอังกฤษ (English Communication) การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking) และสมรรถนะการทำงาน (Future Workforce Competencies)

โดยปกติแล้ว การสอบ TGAT จะมีค่าสมัครสอบรายวิชาละ 140 บาท น้อง ๆ สามารถเลือกสอบด้วยกระดาษ หรือสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตามความสมัครใจ และหลังจากที่สอบเสร็จและคะแนนสอบออกแล้ว หากต้องการยื่นคำร้องขอทบทวนผลคะแนนสอบ จะมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่วิชาละ 100 บาท และสูงสุดไม่เกิน 300 บาทต่อคน

แต่ในปีนี้ไม่เหมือนเดิม! สำหรับน้อง ๆ ที่สมัครสอบ TGAT ในระบบ TCAS68 ทาง ทปอ. ได้มีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบรายวิชาในระบบ TCAS ส่งผลให้ในปีนี้ น้อง ๆ DEK68 ทุกคนสามารถสมัครสอบ TGAT ได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายค่ะ

คะแนนสอบ TGAT อยู่ได้กี่ปี

คะแนนสอบ TGAT อยู่ได้แค่ 1 ปีเท่านั้น นั่นหมายความว่า น้อง ๆ ที่เป็นเด็กซิ่ว แล้วต้องการจะสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2568 จะต้องสมัครสอบใหม่ด้วยนั่นเอง

ความสำคัญของการสอบ TGAT

การสอบ TGAT มีความสำคัญมาก เพราะเป็น 1 ในคะแนนจากข้อสอบกลางที่น้อง ๆ ต้องใช้ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยผ่านระบบ TCAS68 รวมกับข้อสอบ TPAT และ ข้อสอบ A-Level ที่สำคัญยังมีสัดส่วนคะแนนที่สูงด้วย

ข้อสอบ TGAT แต่ละวิชามีอะไรบ้าง ในปี 2568

รูปแบบข้อสอบแต่ละวิชาของ TGAT

เพื่อให้น้อง ๆ เห็นภาพการสอบ TGAT มากขึ้น พี่วีวี่จะพาไปดูรูปแบบการสอบ TGAT ของทั้ง 3 วิชาเอง โดยอ้างอิงข้อมูลจากโครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบของ TCAS67 แต่ละวิชาจะมีความยากง่ายยังไง ตามไปดูกันเลย!

TGAT1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ (English Communication)

TGAT1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ จะเน้นไปที่การทดสอบความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในชีวิตประจำวัน แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ การพูดและการอ่าน โดยจะเป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก มีทั้งหมด 60 ข้อ 100 คะแนน ใช้ระยะเวลาสอบทั้งหมด 60 นาที

1. ทักษะการพูด (Speaking Skill)

มีจำนวน 30 ข้อ 50 คะแนน มี 3 หัวข้อดังนี้

  • การถาม–ตอบ (Question-Response) : มีทั้งหมด 10 ข้อ แบ่งระดับข้อสอบเป็น ง่าย 2 ข้อ, กลาง 6 ข้อ และยาก 2 ข้อ
  • เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short conversations) : จะมีบทสนทนาสั้น ๆ ให้อ่าน และมีข้อคำถามประมาณ 3-4 ข้อต่อบทสนทนา รวมทั้งหมด 10 ข้อ แบ่งระดับข้อสอบเป็น ง่าย 2 ข้อ, กลาง 6 ข้อ และยาก 2 ข้อ
  • เติมบทสนทนาแบบยาว (Long conversations) : จะมีบทสนทนายาวให้อ่าน 2 บท และมีคำถาม 5 ข้อต่อบทสนทนา รวมทั้งหมด 10 ข้อ แบ่งระดับข้อสอบเป็น ง่าย 2 ข้อ, กลาง 6 ข้อ และยาก 2 ข้อ

2. ทักษะการอ่าน (Reading Skill) 

จำนวน 30 ข้อ 50 คะแนน มี 3 หัวข้อดังนี้

  • เติมข้อความในเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ (Text completion) : จำนวน 2 บทความ บทความละ 7-8 คำถาม รวมกันทั้งหมด 15 ข้อ และแบ่งระดับข้อสอบเป็นง่าย 3 ข้อ กลาง 9 ข้อ และยาก 3 ข้อ
  • อ่านเพื่อจับใจความ (Reading  comprehension) : จำนวน 3 บทความ เป็นบทความทั่วไปที่ใช้ในการสื่อสาร มีความยาวประมาณ 100 – 200 คำ แต่ละบทความมี 5 ข้อ รวมทั้งหมด 15 ข้อ แบ่งระดับข้อสอบเป็นง่าย 3 ข้อ กลาง 9 ข้อ และยาก 3 ข้อ

TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking)

TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล จะเน้นไปที่การทดสอบความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารด้วยเหตุผลและตรรกะ เพื่อดูว่าน้อง ๆ มีสมรรถนะการคิดอย่างมีเหตุผลหรือไม่ โดยจะเป็นข้อสอบปรนัย 5 ตัวเลือก มีทั้งหมด 80 ข้อ 100 คะแนน แบ่งเป็น 4 หัวข้อดังนี้

  • ความสามารถทางภาษา 20 ข้อ
  • ความสามารถทางตัวเลข 20 ข้อ
  • ความสามารถทางมิติสัมพันธ์ 20 ข้อ
  • ความสามารถทางเหตุผล 20 ข้อ

TGAT3 สมรรถนะการทำงาน (Future Workforce Competencies)

TGAT3 สมรรถนะการทำงาน เป็นอีกหนึ่งข้อสอบที่มีความยากไม่แพ้กัน ถ้าน้อง ๆ ไม่เตรียมตัวให้ดี ก็มีโอกาสสูงที่จะพลาดการเก็บคะแนนวิชานี้ เนื่องจากการตอบคำถามในข้อสอบ TGAT3 จะมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ การเลือกตอบตัวเลือกเดียว และเลือกตอบหลายตัวเลือก และทุกคำตอบจะมีคะแนนอยู่ระหว่าง 0-1 คะแนนด้วย

TGAT3 นั้น เป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 60 ข้อ 100 คะแนน แบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ โดยแต่ละหัวข้อจะมีคำถาม 15 ข้อ มีรายละเอียดดังนี้

  • การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม
    • การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) 
    • การแก้ไขปัญหาอย่างมืออาชีพ (Professional problem solving)
    • ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative thinking)
  • การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
    • การระบุปัญหา (Identifying problems)
    • การแสวงหาทางออก (Generating and selecting solutions) 
    • การนำทางออกไปแก้ปัญหา (Implementation)
    • การประเมินทางออกเพื่อการพัฒนาปรับปรุง (Evaluation) 
  • การบริหารจัดการอารมณ์
    • ความตระหนักรู้ตนเอง (Self awareness) 
    • การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ (Personality and emotional control)
    • ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal understanding)
  • การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม
    • การมุ่งเน้นการบริการสังคม (Service orientation)
    • จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental responsibility)
    • การสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น (Creating local benefits)

TGAT คะแนนใช้ทำอะไรได้บ้าง

สามารถใช้คะแนนสอบ TGAT ยื่นสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS68 ได้ทั้ง รอบที่ 1 Portfolio รอบที่ 2 Quota, รอบที่ 3 Admission และรอบที่ 4 Direct Admission ได้ (แต่น้อง ๆ อย่าลืมเช็กเกณฑ์การคัดเลือกของคณะ / มหาวิทยาลัยที่ตนเองอยากเข้าศึกษาต่อด้วยนะ เพราะแม้ว่าจะเป็นคณะเดียวกัน อาจกำหนดคะแนนที่ใช้ยื่นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด)

ตัวอย่างคณะยอดฮิต ที่ใช้คะแนน TGAT

ตัวอย่างคณะยอดฮิต ที่ใช้คะแนน TGAT

แต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัย จะมีสัดส่วนคะแนนที่ใช้ในการพิจารณาแตกต่างกัน เพื่อให้น้อง ๆ เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น พี่วีวี่มีตัวอย่าง 5 คณะ / สาขายอดฮิตที่มียอดสมัครมากที่สุดใน TCAS67 ที่ใช้คะแนน TGAT พร้อมตัวอย่างสัดส่วนคะแนนในรอบที่ 3 Admission มาฝาก ตามไปดูกันเลย!

  • พยาบาลศาสตร์
    ตัวอย่างสัดส่วนคะแนน หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : ความถนัดทั่วไป (TGAT) 30%, A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน+เพิ่มเติม) 10%, A-Level เคมี 15%, A-Level ชีววิทยา 25% และ A-Level ภาษาอังกฤษ 20%
  • บริหารธุรกิจ
    ตัวอย่างสัดส่วนคะแนน หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ความถนัดทั่วไป (TGAT) 40%, A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 (พื้นฐาน) 60%
  • การบัญชี
    ตัวอย่างสัดส่วนคะแนน หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขต บางเขน) : ความถนัดทั่วไป (TGAT) 40%, A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 (พื้นฐาน) 30% และ A-Level ภาษาอังกฤษ 30%
  • นิติศาสตร์
    ตัวอย่างสัดส่วนคะแนน หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เลือกสอบวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2) : ความถนัดทั่วไป (TGAT) 20%, A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 (พื้นฐาน) 20%, A-Level สังคมศาสตร์ 20%, A-Level ภาษาไทย 20% และ A-Level ภาษาอังกฤษ 20%
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
    ตัวอย่างสัดส่วนคะแนน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : การสื่อสารภาษาอังกฤษ (TGAT1) 30%, A-Level สังคมศาสตร์ 10%, A-Level ภาษาไทย 10% และ A-Level ภาษาอังกฤษ 50%

ปฏิทินการสอบ TGAT สำหรับ DEK68 (อัปเดตล่าสุด)

ปฏิทินการสอบ TGAT ใน TCAS68 มีกำหนดการสอบดังนี้

  • รับสมัครสอบ TGAT : วันที่ 29 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2567
  • สอบ TGAT : วันที่ 7 – 9 ธันวาคม 2567
  • ประกาศผลสอบ TGAT (สอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์) : วันที่ 17 ธันวาคม 2567
  • ขอทบทวนผลคะแนนสอบ TGAT (สอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์) : วันที่ 18 – 25 ธันวาคม 2567
  • ประกาศผลสอบ TGAT (สอบด้วยกระดาษ) : วันที่ 7 มกราคม 2568
  • ขอทบทวนผลคะแนนสอบ TGAT (สอบด้วยกระดาษ) : วันที่ 8 – 15 มกราคม 2568

เทคนิคพิชิต TGAT สำหรับ #DEK68

น้อง ๆ DEK68 ที่ต้องสอบ TGAT แล้วไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี พี่วีวี่มี 4 Steps พิชิต TGAT มาฝาก ลองนำไปปรับใช้ดูได้เลย รับรองว่าจะช่วยให้น้อง ๆ เก็บคะแนน TGAT ได้ดีขึ้นแน่นอน!

  1. รู้น้ำหนัก : ต้องรู้ว่าใช้คะแนน TGAT พาร์ตไหนบ้าง และใช้ค่าน้ำหนักเท่าไหร่ในการยื่นคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยในคณะที่ต้องการ จะได้เน้นฝึกทำโจทย์ได้ตรงจุด
  2. ต้องเห็นแนว : ต้องรู้แนวข้อสอบ โดยวิเคราะห์จากข้อสอบปีเก่า ๆ เมื่อเห็นแนวข้อสอบแล้ว เราจะสามารถเตรียมตัวได้ตรงจุด
  3. ฝึกฝน : ต้องฝึกทำโจทย์เยอะ ๆ หาโจทย์มาฝึกทำ เสริมประสบการณ์และเทคนิคการทำโจทย์ เพราะแต่ละพาร์ตของ TGAT จะใช้เทคนิคการทำโจทย์ไม่เหมือนกัน
  4. ประเมินตนและวางแผน : ต้องวางแผนการทำข้อสอบ ถนัดพาร์ตไหน ใช้เวลาแต่ละพาร์ตเท่าไหร่ จะทำพาร์ตไหนก่อนหลังถึงจะทำได้ทันเวลา โดยน้องสามารถวางแผนการทำข้อสอบได้จากการฝึกทำข้อสอบเป็นชุด ๆ และลองบริหารจัดการเวลาก่อนลงสนามสอบจริง

DEK68 พิชิต TGAT สอบติดคณะในฝันไปกับ WE BY THE BRAIN

จบกันไปแล้วกับการแนะนำข้อสอบ TGAT จะเห็นได้ว่า TGAT เป็นหนึ่งในข้อสอบกลางที่มีความยากไม่แพ้วิชาอื่น ๆ เลย ถ้าน้อง ๆ DEK68 เตรียมตัวมาไม่ดีพอ ก็อาจจะพลาดคะแนนส่วนนี้ได้ง่าย ๆ เลย รีบเช็กให้ชัวร์ว่า คณะที่อยากเข้าต้องสอบอะไรบ้าง มีสัดส่วนคะแนนเท่าไหร่ จะได้มีเวลาเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ต้องรีบอ่านตอนใกล้สอบ!

เตรียมตัวสำหรับ A Level CTA

สำหรับใครที่อยากได้เทคนิคทริกลัดเพิ่มเติม ต้องการติวเข้มก่อนสอบ A-Level และ TGAT สามารถสมัครคอร์สติวเข้ามหาวิทยาลัย 68 กับ WE BY THE BRAIN ได้เลย พี่ ๆ ติวเตอร์ของเราพร้อมพาน้อง ๆ ไปตะลุยโจทย์ข้อสอบหลากหลายรูปแบบ เน้นสอนด้วยความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ได้จริง เรียนจบแล้วจะช่วยให้น้อง ๆ เก็บคะแนนสอบได้มากขึ้นอย่างแน่นอน!

อัปเดตข่าวสารและสอบถามรายละเอียดติวเข้ามหาวิทยาลัย 68 จาก WE BY THE BRAIN ได้ที่ 

โรงเรียนกวดวิชา วี บาย เดอะเบรน เรียนสนุก เข้าใจง่าย ทำโจทย์ได้จริง!

บทความแนะนำ

Top
ทดลองเรียนทดลองเรียนโปรโมชันโปรโมชันรับคำแนะนำรับคำแนะนำ