เห่นโหลว 🙂 พี่ยูจะมาเล่าสรุปน้อง ๆ ม.ปลาย Link นี้ ข้อมูลดี๊ดีเกี่ยวกับวิชาภาษาไทยในมหาศึกสองสนาม สงครามที่ยากจะหลีกเลี่ยง ในสมรภูมิ TCAS นั่นคือ วิชาสามัญ และ O-NET
น้อง ม.4 –ม.5 ดูกลศึกนี้ไว้ ส่วนพี่ใหญ่บิ๊กเบิ้ม ม.6 ไม่ควรพลาดเด็ดขาด โดยคะแนนจากสนามวิชาสามัญ และ O-NET นี้จะนำไปใช้ในรอบต่าง ๆ ของระบบ TCAS
พี่ยูเลยได้วิเคราะห์ข้อสอบวิชาสามัญ ภาษาไทย และภาษาไทย O-NET ให้น้อง ๆ เห็นกันจะจะ เลยว่า จุดไหนที่เหมือนและจุดไหนที่ต่าง แบบละเอียดมากกกกกกกก (ก ล้านตัว) เพื่อจะได้เตรียมตัวให้ตรงจุด รบอย่างไรให้ไม่ปราชัยในแต่ละสนาม ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยจ้า
“ วิชาสามัญ Vs O-NET ” ใช้รอบไหนบ้างใน TCAS 61
รอบ | วิชาสามัญ | O-NET |
รอบที่ 1 การรับด้วย Portfolio | – | – |
รอบที่ 2 การรับแบบโควตา | 🙂 | 🙂 |
รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน | 🙂 | 🙂 |
รอบที่ 4 การรับแบบ Admissions | – | 🙂 |
รอบที่ 5 การรับตรงอิสระ | 🙂 | 🙂 |
คราวนี้เราจะมาดูกันต่อในสถิติคะแนนเฉลี่ยย้อนหลัง ซึ่งจะช่วยวางแผนการเตรียมตัวหรืออนุมานถึงระดับความยาก-ง่ายของข้อสอบในวิชานั้น ๆ ถ้าอย่างนั้นเราจะมาดูคะแนนเฉลี่ยภาษาไทยในสนามวิชาสามัญ กับ O-NET ว่า คะแนนเป็นยังไงบ้าง ตามมาเล้ย…..!
สถิติคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทย 3 ปี ย้อนหลัง
วิชาสามัญ ภาษาไทย
ภาษาไทย O-NET
น้อง ๆ จะเห็นว่าคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทยของทั้งสองสนามจะอยู่ที่ประมาณ 50 – 60 คะแนน แต่คะแนนเฉลี่ยนี้ไม่ได้การันตีว่าถ้าน้องทำคะแนนได้เท่านี้แล้วจะสอบติด เพราะคะแนนเฉลี่ยแค่บอกเราว่า คนส่วนใหญ่ทำได้เท่าไหร่ ดังนั้นเราจะมาตั้งเป้าหมายกันว่า เราควรทำคะแนนให้ได้แค่ไหน เพื่อเพิ่มโอกาสในการสอบติดกันครับ
ปักธงคะแนนเป้าหมายใน วิชาสามัญ ภาษาไทย & ภาษาไทย O-NET
ปักธงคะแนนเป้าหมาย
โซนอันตราย เพราะได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
โซนเพิ่มโอกาสสอบติด เพราะคะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ย
โซนอุ่นใจ ปักธงเอาไว้ตรงนี้เลย 🚩🚩
รูปแบบและจำนวนข้อสอบ
วิชาสามัญ ภาษาไทย
เวลาที่ใช้สอบ : 90 นาที (เฉลี่ยข้อละ 1:48 นาที)
รูปแบบข้อสอบ | จำนวนข้อ | คะแนน |
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ | 50 | 100 |
ภาษาไทย O-NET
เวลาที่ใช้สอบ : 120 นาที (เฉลี่ยข้อละ 1:30 นาที)
รูปแบบข้อสอบ | จำนวนข้อ | คะแนน |
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ | 70 | 90 |
เลือกคำตอบจากแต่ละหมวดที่สัมพันธ์กัน | 10 | 10 |
รวม | 80 | 100 |
สัดส่วนจำนวนข้อโดยเฉลี่ยแต่ละปี แต่ละสาระในวิชาภาษาไทย 2 สนาม
- วิชาสามัญ ภาษาไทย
- ภาษาไทย O-NET
จะเห็นว่าสาระที่น้อง ๆ ควรเก็บให้ได้ เพราะเปอร์เซ็นต์ในการออกเยอะมากทั้งสองสนามนั่นคือ สาระการอ่าน และสาระหลักการใช้ภาษา คราวนี้พี่ยูก็ยังได้วิเคราะห์ให้ละเอียดยิ่งขึ้นว่า แต่ละสาระจะออกประมาณกี่ข้อ จากการเฉลี่ยข้อสอบเก่า 3-5 ปี ย้อนหลัง ลองดูนะ
วิเคราะห์สัดส่วนจำนวนข้อสอบแบบแยกตามสาระ
วิชาสามัญ ภาษาไทย | |
สาระ | จำนวนข้อ |
1. การอ่าน | 22 |
2. หลักการใช้ภาษา | 20 |
3. การเขียน | 4 |
4. การฟัง ดู พูด | 4 |
ภาษาไทย O-NET | |
สาระ | จำนวนข้อ |
1. หลักการใช้ภาษา | 30 |
2. การอ่าน | 20 |
3. วรรณคดีฯ | 15 |
4. การเขียน | 12 |
5. การฟัง ดู พูด | 3 |
เก็ง ข้อสอบ ภาษาไทย O-NET/ วิชาสามัญ ปี 61 By พี่ยู
- ทุกคำในข้อใดพ้องความหมายกับคำที่ขีดเส้นใต้ในคำประพันธ์ต่อไปนี้
สารทรงราชรามัญ ลงล่าง แลนา
เสยส่ายท้ายทันต์ทั้ง คู่ค้ำคางเขิน
- หัสดี พาชี กุญชร
- อารัญ ไพรี ดำรี
- มาตงค์ หัตถี กริน
- อัมพร เวหน กิริณี
- ดุรงค์ สุโนก คชสาร
3.
2. คู่สำนวนในข้อใดมีความหมายไม่แตกต่างกัน
- วานรได้แก้ว กิ้งก่าได้ทอง
- หัวก่ายท้ายเกย หัวมังกุท้ายมังกร
- ฟื้นฝอยหาตะเข็บ ตายประชดป่าช้า
- ขี่ช้างจับตั๊กแตน เอากุ้งฝอยไปตกปลากะพง
- เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาทองไปรู่กระเบื้อง
5.
ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่พี่ยูคัดสรรมาให้น้อง ๆ ได้รู้ เพื่อเตรียมพร้อมในการสอบวิชาสามัญ ภาษาไทย และภาษาไทย O-NET ในระบบ TCAS 61 นี้ ขอให้น้อง ๆ ทุกคนโชคดี สำหรับวันนี้พี่ยูต้องลากันไปก่อน บ๊าย บายจ้า
อ.สุรเชษฐ์ พิชิตพงศ์เผ่า (พี่ยู)
- ปริญญาโท : อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการเรียนดีเยี่ยม 4.00
- ปริญญาตรี : ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง รับพระราชทานทุนภูมิพล
- อดีตอาจารย์พิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ผู้เขียนหนังสือ คู่มือเตรียมสอบ “GAT คิด วิเคราะห์ เชื่อมโยง” (BEST SELLER ศูนย์หนังสือจุฬาฯ) ยอดพิมพ์จำหน่ายกว่า 100,000 เล่ม
- ประสบการณ์การสอน 15 ปี