สำรวจอาชีพ กับการพัฒนาอุตสาหกรรม ตอน 2
สวัสดีค่ะน้อง ๆ หลังจากได้อ่านสำรวจอาชีพ ตอน 1 กันไปแล้ว วันนี้เราจะมาต่อกันในตอน 2 กับกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี ประกอบด้วยอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics)
ตัวอย่างอาชีพ
วิศวกรซอฟต์แวร์
ลักษณะงาน วิเคราะห์และพัฒนาระบบซอฟแวร์ ดูแลและแก้ไขข้อมูลด้านซอฟแวร์ ออกแบบ ทดสอบ ตรวจสอบ กระบวนการการทำระบบซอฟแวร์ให้เป็นมาตรฐาน
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เช่น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ โปรแกรมเมอร์
วิศวกรคอมพิวเตอร์
ลักษณะงาน ออกแบบ พัฒนา กำหนดคุณลักษณะ และบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ ออกแบบและพัฒนาระบบต่าง ๆ เช่น ระบบเว็บบอร์ด โดยใช้ภาษา HTML
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบ วิศวกรเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2. อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
ตัวอย่างอาชีพ
วิศวกรการบิน
ลักษณะงาน กำหนดแบบของเครื่องบินและสร้างอากาศยาน ควบคุมการผลิต การใช้ การซ่อมเครื่องบิน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการบิน
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เช่น วิศวกรเครื่องกล(อากาศยาน) วิศวกรเครื่องกล (โครงสร้าง)
วิศวกรขนส่ง
ลักษณะงาน สำรวจหาสถานที่สำหรับการก่อสร้างระบบขนส่ง วางแผนจัดระบบและควบคุมการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่ง วิเคราะห์และกำหนดวิธีการขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เช่น วิศวกรออกแบบ วิศวกรโครงการ
3. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
ตัวอย่างอาชีพ
นักวิจัยปิโตรเคมี
ลักษณะงาน ศึกษาการนำสารประกอบที่อยู่ในปิโตรเลียมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ค้นคว้าเทคโนโลยีระดับสูงใหม่ ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา แก้ปัญหาผลิตภัณฑ์และกระบวนผลิต
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เช่น นักเคมีวิเคราะห์เกี่ยวกับพลังงานทดแทน นักวิจัยและพัฒนา
4. อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital)
ตัวอย่างอาชีพ
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของไอที
ลักษณะงาน วางแผนและจัดระบบความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ และระบบฐานข้อมูล แก้ไขช่องโหว่ของระบบหรือโปรแกรม เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง เช่น นักออกแบบและวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์งานฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
วิศวกรฮาร์ดแวร์
ลักษณะงาน ออกแบบโปแกรมประยุกต์บนคอมพิวเตอร์ คิดค้นและพัฒนาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
5. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
ตัวอย่างอาชีพ
นักเทคนิคการแพทย์
ลักษณะงาน ทดสอบตัวอย่างที่ได้จากร่างกายมนุษย์ โดยวิเคราะห์ วิจัยจากการใช้เทคโนโลยีในห้องปฏิบัติการ เพื่อนำผลไปใช้ประโยชน์ในการประเมินสุขภาพ
นักกายภาพบำบัด
ลักษณะงาน บำบัดรักษาอาการผิดปกติของร่างกายที่ไม่ใช่การรักษาทางยา โดยจะปฏิบัติงานตามคำสั่งของแพทย์ บำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วย เพื่อป้องกันความพิการ และเพื่อให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้อย่างอิสระ
ครบแล้วนะคะ สำหรับตัวอย่างอาชีพใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย จะเห็นได้ว่า ยังมีอาชีพอีกหลากลายให้น้อง ๆ ได้รู้จักกัน เพื่อดูว่าอาชีพนั้น ๆ ใกล้เคียงกับความสนใจของเราหรือไม่ และหากใครยังไม่ได้อ่านตอน 1 เข้าไปดูได้ที่นี่เลย คลิก
https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/vgnew_th/c045afa055e4df89fb93644b3823d911.pdf