[TCAS62] สอบได้ครั้งเดียว! ต้องรู้ ข้อสอบคณิต O-NET ม.6 ออกอะไรบ้าง?
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่า…
ข้อสอบคณิต O-NET ม.6 ถึงดีกรีความยากจะไม่เท่ากับ PAT1 แต่คะแนนส่วนนี้ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับสนามสำคัญ TCAS เนื่องจากใช้เป็นเกณฑ์คะแนนการคัดเลือก เช่น ในรอบ 4 แอดมิชชั่น และ กสพท
ดังนั้น DEK62 ที่ต้องใช้คะแนน O-NET ม.6 ห้ามละเลยสนามนี้ ยิ่งใช้สัดส่วนคะแนนมาก ยิ่งต้องเตรียมตัวให้เยอะขึ้น ขอย้ำว่า “ห้ามเท” สนามนี้เด็ดขาด!
พร้อมแล้วมาดูสถิติคะแนนในแต่ละบทที่ออกสอบในคณิต O-NET ปีที่แล้ว (ปีการศึกษา 2560) ที่ผ่านการวิเคราะห์โดย “พี่เอ๋” WE TUTOR ทีมคณิตศาสตร์กัน
รูปแบบข้อสอบ | จำนวนข้อ |
จำนวนจริง และเลขยกกำลัง | 17.5 |
ลำดับ และอนุกรม | 15 |
สถิติ | 15 |
เซต และการให้เหตุผล | 7.5 |
อัตราส่วนตรีโกณมิติ | 7.5 |
ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน | 12.5 |
การแก้สมการ – อสมการ และโจทย์ปัญหาทั่วไป | 12.5 |
ความน่าจะเป็น | 12.5 |
รวม | 100 |
จะเห็นได้ว่าบทจำนวนจริง และเลขยกกำลัง มาแรงจริงๆ ถึง 17.5 ข้อเลยทีเดียว
แต่!!! ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ค่ะ พี่วีวี่ยังมีเนื้อหาข้อสอบคณิต O-NET ม.6 ในปีการศึกษา 2561 จาก สทศ. มาให้น้องแบบละเอียดจัดเต็มสุดๆ
รูปแบบข้อสอบคณิต ม.6 O-NET ปี 61
จำนวนเวลาที่ใช้สอบ : 120 นาที
รูปแบบข้อสอบ | จำนวนข้อ | คะแนน |
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ | 32 | 80 |
ระบายคำตอบที่เป็นค่า/ตัวเลข | 8 | 20 |
รวม | 40 | 100 |
เนื้อหาในการสอบ
จำนวนและการดำเนินการ
- ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริง
- จำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์
- การบวก การลบ การคูณ และการหารจำนวนจริง
- การบวก การลบ การคูณ และการหารจำนวนจริงที่อยู่ในรูปเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ และจำนวนจริงที่อยู่ในรูปกรณฑ์
- สมบัติของจำนวนจริงและการนำไปใช้
การวัด
- โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับระยะทางและความสูง
พีชคณิต
- เซตและการดำเนินการของเซต
- การให้เหตุผลแบบอุปนัยและนิรนัย
- ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
- กราฟของความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
- ลำดับและการหาพจน์ทั่วไปของลำดับจำกัด
- ลำดับเลขคณิตและลำดับเรขาคณิต
- แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์
- การให้เหตุผล
- สมการและอสมการตัวแปรเดียวดีกรีไม่เกินสอง
- ความสัมพันธ์หรือฟังก์ชัน
- อนุกรมเลขคณิตและอนุกรมเรขาคณิต
การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- ค่ากลางของข้อมูล
- การวัดการกระจายของข้อมูล
- การหาตำแหน่งที่ของข้อมูล
- กฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ
- การทดลองสุ่ม
- แซมเปิลสเปซ
- เหตุการณ์
- ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
แต่!! สำหรับน้องๆ ที่ยังไม่มั่นใจในการเตรียมความพร้อมครั้งนี้ พี่วีวี่มีตัวช่วยแบบที่ใช้เวลาน้อย เข้าใจง่าย พร้อมเทคนิคที่ง่ายไม่เหมือนใคร กับคอร์สติว O-NET ที่ we บอกเลยว่า OMG! เตรียมตัวดีขนาดนี้ คะแนนดีแน่นอน คลิกเลย