มาเตรียมตัวลุย PAT1 คณิตศาสตร์ กัน
สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน ช่วงนี้มีข่าวครึกโครมกับการเปลี่ยนแปลงระบบสอบปี 61 มาเป็นเอ็นทรานซ์ ซึ่งก็มีข้อดี คือ จะมีเวลามากขึ้น เพราะได้ไปสอบตอน มี.ค. แต่จริง ๆ แล้ว ระบบแอดมิชชั่นที่เรากำลังเจออยู่ ก็มีข้อดีเหมือนกันนะ เพราะเป็นโอกาสของน้อง ๆ ที่มีความขยัน
ในช่วงเดือนตุลาคมเราจะเจอระบบการสอบหนึ่ง คือ การสอบ GAT/PAT นั่นเอง ซึ่งถ้าถามพี่เอ๋ว่า วิชาไหนที่ยากบ้าง
พี่เอ๋คิดว่า จริง ๆ แล้วก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของน้อง ๆ นะครับ แต่ถ้าความเห็นของพี่ PAT1 หรือความถนัดทางคณิศาสตร์เนี่ยเป็นตัวยากครับ
เพราะว่าตามสถิติเก่า ๆ เอาของปี 59 ก็แล้วกันนะครับ เต็ม 300 ใน PAT1 มีคนที่ได้เกิน 60 คะแนนอยู่เพียง 28 % เท่านั้น นั่นหมายความว่าที่เหลือจะต่ำกว่า 60 คะแนน จากทั้งหมด 300 นะครับน้อง
เขาไม่รู้ว่าคะแนนมันต่ำมาก ยิ่งคนที่ได้เกิน 150 คะแนน ในปีที่แล้วเนี่ย มีไม่ถึง 0.5 % นะ น้องก็คิดเอาเองละกัน เพราะฉะนั้นมันค่อนข้างยากเลยทีเดียว
เราลองมาดูตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนน PAT 1 ในการเลือกรับบ้าง สมมติว่าน้องอยากเข้า บัญชี จุฬาฯ ในการสอบรับตรงของเขาเนี่ยจะใช้ GAT 50% และ PAT1 50% ครับ นั่นหมายความว่า น้องก็มุ่งไปที่ 2 ตัวนี้เลย
...มาถึงการเตรียมตัวสอบ PAT1 กันบ้าง...
1. ในวิชาคณิตศาสตร์เนี่ย น้องต้องเรียนรู้อย่างเข้าใจมัน พร้อมทั้งต้องรู้เทคนิคในการทำโจทย์
2. นั่งทำโจทย์ด้วยตนเอง เทคนิคนี้ พี่เอ๋จะเรียก โจทย์กับกระดาษเปล่า ก็คือ เอาโจทย์คณิตศาสตร์และกระดาษเปล่ามา หลังจากนั้นน้องจะต้องนั่งทำด้วยตนเองครับ
“น้องลองจินตนาการตามพี่นะ สมมติว่าน้องต้องการจะต่อยมวย
แต่น้องศึกษาแต่ทฤษฎีและดูคนอื่นต่อยมวย แต่ไม่เคยขึ้นชกเองเลย พอขึ้นไปจริง ๆ น้องแพ้แน่นอนครับ
จะออกหมัดยังไง จะเคลื่อนตัวยังไงน้องไม่รู้ไงครับ เพราะน้องขาดการปฏิบัติ”
ดังนั้นการฝึกทำโจทย์ พี่เอ๋เน้นย้ำเลยว่า สำคัญมาก ๆ กับวิชาคณิตศาสตร์ครับ
3. เรื่องการแบ่งเวลา ฝากไว้ด้วยนะครับ เพราะว่า น้องลองนึกภาพดูสิ ถ้าหากน้อง ๆ รู้ว่าจะต้องมีการสอบแน่นอนในเดือนตุลาคม แล้วน้องอ่านหนังสือไปเรื่อย ๆ ไม่มีการวางแผนเรื่องเวลา
“มันก็เหมือนกับเวลาที่น้องไปรับจ้างเขาตัดชุดแต่งงาน
น้องก็ตัดไปเรื่อย ๆ ด้วยความประณีต สุดท้ายพอถึงวันแต่ง แล้วมันไม่เสร็จอ่ะครับ
ทุกอย่างมันก็มลายหายไป มันก็ไม่มีประโยชน์อันใด ถูกไหมครับน้อง”
เพราะฉะนั้นน้องจะต้องเอาตารางมากางเลยว่า เดือนนี้เราจะต้องอ่านหัวข้ออะไร เดือนต่อไปล่ะ แล้วก็ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งก่อนถึงเดือนสอบเนี่ย น้องต้องมีเวลาก่อนประมาณสัก 3 เดือน ในการตะลุยโจทย์ พี่ใช้คำนี้เลยนะครับ ตะลุยข้อสอบเก่า เอามานั่งทำเลย สำคัญจริง ๆ
...ส่วนคำถามที่ถามว่า ควรทำข้อสอบมากเท่าไหร่...
“สุดท้ายนี้ พี่อยากฝากถึงน้อง ๆ ที่กำลังจะสอบในปีนี้ว่า
คนที่ประสบความสำเร็จเนี่ย ความสำเร็จของเขาไม่ได้มาด้วยความสบายหรอกน้อง
อะไรที่มันยากหรือดีเนี่ย มันต้องเหนื่อยกันหน่อย ต้องยอมเสียสละปัจจุบัน เพื่ออนาคตนะครับ”