ทำ PORTFOLIO ให้ดี มีอะไรต้องระวังบ้าง
หลังจากการประกาศเกณฑ์การรับในระบบ TCAS ของแต่ละคณะและมหาวิทยาลัยมาสักพัก น้อง ๆ จะเห็นได้ว่า รอบที่ 1 การรับด้วย portfolio โดยไม่มีการสอบข้อเขียนนั้น ในหลาย ๆ คณะ/สาขาวิชาได้มีการใช้ portfolio มาเป็นหนึ่งในองค์ประกอบการคัดเลือกด้วย
วันนี้พี่วีวี่เลยจะมาเตือนน้อง ๆ ถึงสิ่งที่ควรคำนึงและระวังในการทำ portfolio ว่ามีอะไรบ้าง และเพื่อไม่ให้เสียเวลา เรามาดูกันดีกว่า เริ่มที่ข้อแรก
1.) คำนึงถึงคณะ/ สาขาวิชาที่จะสมัคร
น้อง ๆ ควรทำ portfolio ให้ถูกต้องตามข้อกำหนดและสอดคล้องกับคณะ/ สาขาวิชาที่สมัคร ซึ่ง portfolioแต่ละโครงการที่เปิดรับ ก็ได้กำหนดรายละเอียดที่แตกต่างกันไป
เช่น
- portfolio ผลงานวิชาการ
- portfolio ทางด้านกีฬา
- portfolio ทางด้านดนตรีไทย
- portfolio ด้านแฟชั่นและสิ่งทอ
- portfolio ทางวิทยาศาสตร์
น้อง ๆ จึงควรศึกษาเกณฑ์ไว้ให้ดี เพื่อความถูกต้อง และไม่พลาดโอกาสในการคัดเลือกนั่นเองค่ะ
2.) ข้อมูลต้องตรงกับความเป็นจริง
ในการทำ portfolio ข้อมูลที่น้อง ๆ นำมาใส่ไว้ต้องตรงกับความเป็นจริง และที่สำคัญน้อง ๆ ไม่ควรคัดลอกหรือนำผลงานของคนอื่นมาแอบอ้างว่าเป็นผลงานของตนเองอย่างเด็ดขาด …(ทำแบบนี้ไม่ดีเลย)
3.) ควรเลือกข้อมูลที่นำมาใส่ใน portfolio
น้อง ๆ ควรจะนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจถึงจุดประสงค์ที่ต้องการสื่อสารมากที่สุด คือชัดเจน เข้าใจง่าย ตรงประเด็น และควรระวังเรื่องการใช้ภาษาให้ถูกต้อง
การไม่เลือกข้อมูล และใส่ทุกอย่างลงไปแบบอัดแน่น จนไม่รู้ว่าจะต้องอ่านอะไร หรือสิ่งไหนคือจุดเด่น จะทำให้ความน่าสนใจของ portfolio ลดลง
และนี่ก็เป็น 3 ข้อหลัก ๆ ที่ควรคำนึงถึง ในการทำ portfolio น้อง ๆ ลองนำไปปรับใช้กันดูนะคะ สำหรับวันนี้พี่วีวี่ต้องขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ