[TCAS 62] เก็งให้ เก็บไว้อ่าน! บทที่ออกสอบในภาษาไทย O-NET ม.6

ภาษาไทย-ONET-ม.6

[TCAS 62] เก็งให้ เก็บไว้อ่าน! บทที่ออกสอบในภาษาไทย O-NET ม.6

ใกล้ถึงเทศกาลสอบของน้อง ม.6 เข้ามาทุกที และเป็นที่รู้กันดีว่าวันสอบของแต่ละสนามห่างกันเพียงช่วงสัปดาห์เท่านั้น ทั้ง GAT-PAT , O-NET  และวิชาสามัญ
จุดพีคสุดก็คือ…จะเตรียมตัวอย่างไรดี ถ้าจะสอบไล่เลี่ยกันขนาดนี้!!!

คำตอบคือ ตอนนี้เรายังมีเวลากันค่ะน้องๆ วางแผนจัดตารางการอ่านทบทวนในแต่ละวิชาให้ดี แต่เท่านั้นยังไม่พอ!! พี่วี่วี่ได้ข้อมูลจากพี่ยู WE TUTOR ของเรา ที่รวบรวมและเก็งเรื่องที่มีโอกาสสอบสูงมว๊ากกก…ในข้อสอบภาษาไทย O-NET ปีนี้ มาให้น้องๆ ได้เจาะลึกตรงบท อ่านถูกจุดกันมากขึ้น รับรองว่าเพิ่มคะแนนได้ชัวร์เลย

เก็งเรื่องที่มีโอกาสออกสอบสูง
ในข้อสอบภาษาไทย O-NET ม.6
ภาษาที่ใช้เขียนรายงานวิชาการ
การเขียนประกาศ
ธรรมชาติของภาษา
เสียงและอักษรแทนเสียง
คำไทยแท้
คำยืมบาลี/สันสฤต/เขมร
การสร้างคำ
คำพ้อง
ฉันทลักษณ์คำประพันธ์
ภาพพจน์/จินตภาพ
สัมผัสร้อยกรอง/เล่นเสียง/เล่นคำ/ซ้ำคำ/คำอัพภาส
ข้อคิด/วัฒนธรรม/ความรู้จากวรรณคดีหรือวรรณกรรม

ทีนี้เรามาดูข้อมูลจาก สทศ. กันบ้างดีกว่า…ว่ารูปแบบข้อสอบ สาระที่ออกสอบทั้งหมดในสนามสอบ O-NET มีอะไรบ้าง

รูปแบบข้อสอบภาษาไทย O-NET ม.6

จำนวนเวลาที่ใช้สอบ : 120 นาที 

รูปแบบข้อสอบ จำนวนข้อ คะแนน
ปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ 70 90
รูปแบบเลือกคำตอบจากแต่ละหมวดที่สัมพันธ์กัน 10 10
รวม 80 100

เนื้อหาในการสอบ

การอ่าน

  • การอ่านจับใจความวรรณคดีและวรรณกรรมในหนังสือเรียน รวมทั้งบทเรียนจากกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ

การเขียน

  • การเขียนสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

– การเขียนประวัติย่อในการสมัครงาน หรือศึกษาต่อ
– การเขียนจดหมายกิจธุระในชีวิตประจำวัน
– การเขียนโครงงาน
– การเขียนรายงานวิชาการ
– การเขียนรายงานประชุม
– การกรอกแบบรายการต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
– การเขียนวิจารณ์

  • การเขียนเรียงความ
  • การเขียนรายงานเชิงวิชาการโดยเน้นการเขียนอ้างอิงข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง

การฟัง การดู และการพูด

  • การพูดสรุปสาระสำคัญและการแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟังและดู
  • การพูดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

– การอภิปราย
– การพูดแสดงทรรศนะ
– การพูดโน้มน้าวใจ
– การกล่าวสุนทรพจน์
– การโต้วาที

วรรณคดีและวรรณกรรม

  • การวิจารณ์และประเมินค่าวรรณคดี วรรณกรรม วรรณกรรมท้องถิ่น วรรณกรรมอาเซียน และบทอาขยาน

หลักการใช้ภาษาไทย

  • ธรรมชาติของภาษา
  • พลังของภาษา
  • ลักษณะของภาษาไทย
  • พยางค์และคำ
  • ความหมายของคำ
  • การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยในปัจจุบัน
  • หลักการใช้ถ้อยคำและสำนวน
  • หลักการร้อยเรียงประโยค
  • หลักการสังเกตคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
  • หลักการสร้างคำในภาษาไทย
  • ระดับของภาษา
  • คำราชาศัพท์และคำสุภาพ
  • หลักการแต่ง โคลง ร่าย และฉันท์
  • อิทธิพลของภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น
  • หลักการสร้างคำในภาษาไทย
  • การประเมินการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • ภูมิปัญญาทางภาษาในท้องถิ่น

เมื่อรู้ข้อมูลแบบนี้แล้ว..นำไปวางแผนการอ่านกันให้ดีนะคะ เพราะหลายๆ คนอาจคิดว่า “ภาษาไทย” เป็นวิชาที่ง่าย แล้วนำไปจัดลำดับการอ่านเป็นวิชาสุดท้ายที่ใช้ทบทวน แต่รู้ไหมว่าสถิติคะแนนจากสนามสอบสำคัญหลายๆ สนาม ยังไม่เคยมีใครทำคะแนนได้เต็มในวิชานี้ ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้น ห้ามประมาทเด็ดขาดค่ะ!!
 
ดังนั้น หากน้องๆ ที่อยากมีผู้ชี้แนะแบบเจาะลึก ที่จะมาช่วยเตรียมความพร้อมให้น้อง ๆ มั่นใจเกินร้อย พี่วีวี่ขอแนะนำคอร์ส THAI ENT’LIGHTENMENT สรุปเนื้อหาภาษาไทย เป็นคอร์สสรุปเนื้อหาภาษาไทย ม.4 – ม.6 เป็นบทใหญ่ ๆ รวม 13 บท แบบเข้มข้น เติมเต็มด้วยเทคนิคการจำแบบง่าย ๆ ปิดท้ายทุกบทด้วยแนวข้อสอบสนามต่าง ๆ แบบเสมือนจริงที่สุด อธิบายละเอียดทุกอณู
 
และคอร์ส ตะลุยโจทย์ THAI ENT’LIGHTENMENT คอร์สที่คัดสรรโจทย์จากข้อสอบจริง ทั้ง O-NET และวิชาสามัญ รวมโจทย์กว่า 200 ข้อ แทรกด้วยโจทย์ Advance ที่เก็งข้อสอบให้เพิ่มเติมโดยพี่ยู THAI EXPERT พร้อมด้วยเทคนิคการทำข้อสอบที่จะทำให้ “ทำถูก” และ “ทำทัน” เป๊ะ ปัง ดีต่อใจแบบสุด ๆ เป็นคอร์สที่รุ่นพี่บอกต่อกันเยอะมาก ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Top
สอบถามรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ